วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รวมคะแนนเก็บทั้งหมด 1750 คะแนน
ข้าพเจ้าทำได้ 1702.5 คะแนน
มีจำนวนลายเซ็นต์ 1 ครั้ง




*ข้าพเจ้าตั้งใจเรียน
*ทำงานที่อาจารย์สั่ง
*เข้าเรียนตลอด
*ช่วยสอนเพื่อนๆที่ไม่เข้าใจในการทำงาน

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 29 พ.ย. - 3 ธ.ค. 2553 คะแนน 240 คะแนน

กำหนดส่ง e-book ภายในวันที่ 7 มกราคม 2554 โดยนำไฟล์.exe ใส่แฟลชไดร์ฟมาส่งที่ครู

ให้ผู้เรียนสืบค้นและวิเคราะห์ข้อสอบ O-net สอบเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ข้อที่ 1 - 22 โดยดำเนินการแสดงผลการสืบค้นและวิเคราะห์ นำเสนอในรูปแบบ e-book ด้วยโปรแกรม Desk Top Author
โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
- เรียนการใช้โปรแกรม บันทึกลงสมุด 20 คะแนน
- กำหนดส่งในชั่วโมงเรียน ข้อ 1 - 3
- ข้อ 4 - 22 ทำเป็นการบ้านส่งคาบเรียนต่อไป
2 ธันวาคม 2553 นักเรียนชั้นม.6/1 ปฏิบัติกิจกรรมใน Blog 2 คนต่อ 1 งาน แล้วนำส่งท้ายชั่วโมงในช่องความคิดเห็น ถ้าไม่ส่งถือว่าขาดการส่งงาน ไปทำกิจกรรมคลิกที่นี่

เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จให้คลิกแสดงความคิดเห็นเพื่อส่งงาน ผู้ใดไม่แจ้งถือว่าขาดการส่งงาน


ส่งงานที่อาจารย์แล้วคะ

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ได้ที่ศึกษาต่อ.....

น.ส.ดวงกมล บัวแจ่ม ม.6/1 เลขที่ 20

ได้ที่ศึกษาต่อที่ สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะ คุรุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขา การออกแบบ

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 4 - 7 มกราคม 2554 คะแนน นับจำนวนข้อ X 10

สัปดาห์นี้เป็นช่วงสอบกลางภาค ขอให้นักเรียนทบทวนบทเรียน เคลียร์งานส่งให้เรียบร้อย อย่าลืมว่าจะปิดการส่งความคิดเห็นเพื่อส่งงานในวันที่ 7 มกราคม 2554 ผู้ใดไม่แจ้งการส่งถือว่าขาดการส่งงาน

กิจกรรม 10 - 14 มกราคม 2554 คะแนน 100 คะแนน

สัปดาห์นี้ครูไปราชการ "ค่ายลูกเสือ ม.1 ที่ค่ายวชิราวุธ ชลบุรี ขอให้ทำงานในสมุดและนำส่งทุกคน คนใดไม่ส่งงานจะถูกระงับการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตและแจ้งผู้ปกครองรับทราบในการไม่ปฏิบัติงาน ขอบคุณในความร่วมมือ (ส่งสมุดหลังชั่วโมงเรียนทุกคน)

ผลการเรียนรู้
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10.อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11.อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12.ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13.ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ
ทำงานลงสมุด อย่าลืมเข้ามาแจ้งว่าปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้ว ไปทำกิจกรรมคลิกที่นี่

กิจกรรม 1 - 5 พฤศจิกายน 2553 คะแนน 130 คะแนน

1. ให้ผู้เรียนสร้าง Blog จัดการเรียนรู้ใหม่โดยใช้เมล์และรหัสเดิม ตั้งชื่อเป็น ชื่อนักเรียนตามด้วยเลข253 และเลขห้อง เลขที่ เช่น
กิตติ ห้องม.6/3 เลขที่ 1 เป็น kitti2536301.blogspot.com ( 5 คะแนน )
2. เมื่อสร้างแล้วให้นำรูปตนเองใส่ให้เรียบร้อย ( 5 คะแนน )
3. ทำการสร้างบทความที่ 1 ข้อตกลงในการเรียนโดยการ copy จาก Blog กลาง ( 5 คะแนน )
4. ทำการสร้างบทความที่ 2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังโดยการ copy จาก Blog กลาง ( 5 คะแนน )
5. copy URL ใหม่ นำส่งในช่องแสดงความคิดเห็นใต้บทความนี้ โดยระบุชื่อ-นามสกุล ห้อง เลขที่ ดังนี้
ส่ง URL ของนายกิตติ รักเรียน ม.6/3 เลขที่ 1 http://kitti2536301.blogspot.com ( 10 คะแนน )
6. ให้นำ code box ไปวางที่ Blog ของนักเรียน http://cid-f528298da2eb5212.office.live.com/self.aspx/m5debsirinsp/codeshoutbox.txt ( 50 คะแนน)
7. ครีเอทีฟคอมมอน สัญญาอนุญาต ใส่ที่ด้านล่างของ Blog ที http://creativecommons.org/choose/results-one?license_code=by-nc-sa&jurisdiction=th&version=3.0&lang=th ( 50 คะแนน)

เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จให้คลิกแสดงความคิดเห็นเพื่อส่งงาน ผู้ใดไม่แจ้งถือว่าขาดการส่งงาน

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรม 31 ม.ค. - 4 ก.พ. 2554 คะแนน 110 คะแนน


ส่งงาน













ตอบ 2

การเหม็นหืนของน้ำมัน

หมายถึง การที่ไขมันมีกลิ่นปกติขณะเก็บ การที่ไขมันจะเหม็นช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษา เราควรเก็บไขมันและน้ำมันไว้ใรที่ที่ปิดมิดชิด การเหม็นหืนของไขมัน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางวเคมี 2 แบบ ดังนี้

การเหม็นหืนเนื่องจากออกซิเจน ในระหว่างที่เก็บ กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จะได้สารเพอร์ออกไซด์ซึ่งมีกลิ่นหืน กรดไขมันมีแขนคู่หลายอันเหม็นหืนเร็วกว่ากรดไขมันที่มีแขนคู่เพียงอันเดียว ในช่วงแรก ปฏิกิริยาการเหม็นหืนจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ในช่วงหลังจะเร็วขึ้น การเติมไฮโดรเจนจะช่วยให้ไขมันเหม็นหืนช้าลงบ้าง น้ำมันพืชเหม็นหืนช้ากว่าน้ำมันสัตว์ ทั้งที่น้ำมันพืชมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวมากกว่า แต่น้ำมันพืชมีปริมาณวิตามินอีที่เป็นสารป้องกันออกซิเจนอยู่แล้วตามธรรมชาติ การเหม็นหืนของน้ำมันป้องกันได้โดยเก็บไขมันในภาชนะที่ทึบแสง อากาศเข้าไม่ได้ และต้องเก็บไว้ในที่เย็น

การเหม็นหืนเนื่องจากน้ำ วิธีนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าการเติมออกซิเจน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ นม เมล็ดพืชต่างๆ และอาหารที่แช่เย็นแข็ง การเหม็นหืนในที่นี้เกิดจากโมเลกุลของไขมันไตรกลีเซอไรด์ถูกย่อยด้วยน้ำย่อยไลเปสเมื่อมีน้ำอยู่ด้วย ได้ไขมันโมเลกุลส้นๆที่มีกลิ่นหืน คือ กรดบิวไทริค ไลเปสอยู่ในอาหารที่มีไขมัน ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน การเหม็นหืนจึงเกิดขึ้นเฉพาะในอาหารที่ผ่านความร้อนไม่สูงมาก หรือความร้อนที่ไม่มากพอที่จะทำลายเอนไซม์ การเหม็นหืนจึงป้องกันโดยใช้ความร้อนทำลายเอนไซม์ และระวังอย่าให้มีน้ำปนในไขมัน
น้ำอัดลมหรือที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า “น้ำขวด” นั้น เป็นที่รู้จักกันมานานแล้วทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เหตุที่นิยมดื่มกันก็เนื่องมาจากความเชื่อมั่นว่าสะอาด แก้กระหาย ประกอบกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้ดื่มเป็นคนทันสมัย ยิ่งทำให้ความนิยมในการบริโภคน้ำอัดลมมีมากขึ้น น้ำอัดลมจัดเป็นเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีเลขทะเบียนเป็น “ผด” แสดงว่าผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นจากโรงงานภายในประเทศ

กระบวนการผลิตน้ำอัดลม

ก่อนอื่นเราไปดูกันดีกว่าว่าต้นสายธารน้ำอัดลมมาจากไหน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอย่างแรก คือ น้ำ ซึ่งต้องผ่านกรรมวิธีการทำให้บริสุทธิ์ก่อน โดยนำน้ำบาดาลที่เก็บไว้ในถังพักมาผ่านถังกรองทราย เพื่อกำจัดสิ่งแขวนลอยออกไป จากนั้นจะผ่านเรซิน (resin) เพื่อกำจัดอิออน ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (ph) ให้ได้ประมาณ 6-7 เติมคลอรีนประมาณ 8 ppm (8 ส่วนในล้านส่วน) เพื่อฆ่าเชื้อโรค

น้ำบริสุทธิ์ที่ได้นี้จะนำมาใช้ในการเตรียมน้ำเชื่อมโดยต้มกับน้ำตาลทรายที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซสเซียส เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง น้ำเชื่อมที่ได้จะมีลักษณะขุ่น จึงต้องมีการฟอกสีและกรองก่อนที่จะทำให้เย็นลงทันทีจนมีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซสเซียส จากนั้นนำน้ำเชื่อมที่ได้มาผสมกับหัวน้ำเชื้อ ซึ่งมากมายหลายชนิดแตกต่างออกไปตามชนิดของน้ำอัดลม

ในหัวน้ำเชื้อจะประกอบด้วยสารที่ให้กลิ่น สารให้สี และสารที่ให้รสเปรี้ยว ได้แก่ กรดชนิดต่างๆ น้ำหวานที่ได้จะถูกทำให้เย็นลงก่อนอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อทำให้ก๊าซละลายให้มากขึ้น แล้วจึงทำการปิดฝา

http://www.doctor.or.th/node/3760













ตอบ 2

ปฏิกิริยาคายความร้อน (Exothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วระบบจะคายพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบคายความร้อน โดยการทดลองหยดกลีเซอรีนลงบนเกล็ดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) ไว้สักครู่ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนมีเปลวไฟลุกไหม้ขึ้น

ตัวอย่างปฏิกิริยาคายความร้อนในชีวิตประจำวัน เช่น การเผาไหม้ของสารต่างๆ การย่อยอาหารหรือสันดาปอาหารในร่างกาย การระเบิด การจุดพลุ เป็นต้น

2. ปฏิกิริยาดูดความร้อน (endothermic reaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้ว ระบบจะดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อมทำให้อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเย็นลง สัมผัสจะรู้สึกเย็น สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องใช้พลังงาน (Energy) ในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การหายใจ การเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว การขับถ่าย การลำเลียงสาร พลังงานส่วนใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตได้จากการสลายสารอาหารด้วยกระบวนการทางเคมี และพลังงานที่ได้เป็นพลังงานเคมี ซึ่งพลังงานเคมีจะเกิดขึ้นได้จะต้องมาจากปฏิกิริยาเคมี

http://krusutida.com/atom/new/008/content_8_1.htm











ตอบ 4
ผลกระทบจากฝนกรด
ฝนกรดจะทำปฏิกิริยาเคมีกับวัตถุใด ๆ ที่มันสัมผัส กรดคือสารเคมีใด ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ โดยจะจ่ายอะตอมไฮโดรเจน (hydrogen: H) ออกไป ความเป็นกรดของสารใด ๆ เกิดจากการที่มีอะตอมไฮโดรเจนอิสระมากมายเกิดขึ้นจากการละลายสารนั้น ๆ ในน้ำ การวัดค่าสารที่เป็นกรดเราใช้มาตรา pH เป็นหน่วยในการวัด โดยจะมีค่าเป็นไปได้ตั้งแต่ 0 ถึง 14 การที่สารใด ๆ นั้นจะเป็นกรดได้ นั้นหมายถึงสารนั้น ๆ จะต้องมีค่า pH ตั้งแต่ 1 ถึง 6 โดยค่ายิ่งน้อยเท่าไหร่ หมายถึงยิ่งเป็นกรดแก่มากเท่านั้น ในทางกลับกัน สารที่มีค่า pH ตั้งแต่ 8 ถึง 14 เราจะเรียกว่าเบส (bases หรือ alkalis) โดยสารเหล่านี้จะทำการรับอะตอมไฮโดรเจนแทน น้ำบริสุทธิ์มีค่า pH เป็น 7 กล่าวคือไม่ได้เป็นกรด และเป็นเบส เราเรียกสารแบบนี้ว่า สารที่เป็นกลาง โดยทั่วไปแล้วถ้าฝน หิมะ หรือหมอกที่มีค่า pH น้อยกว่า 5.6 เราจะถือว่าฝน หิมะ หรือหมอกเหล่านี้เป็นพิษ เมื่อใดก็ตามที่กรดรวมตัวกับเบส เบสจะทำให้ความเป็นกรดลดน้อยลงมาได้ ซึ่งฝนในบรรยากาศปกติจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ อยู่แล้ว มักจะทำปฏิกิริยากับเบสอื่น ๆ ในธรรมชาติทำให้เกิดสมดุลขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ปริมาณกรดในบรรยากาศเพิ่มขึ้น จึงทำให้สมดุลตรงนี้เสียหายไป จึงทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ กับสภาพแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่ดิน น้ำ สัตว์ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างของมนุษย์เอง


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%94













ตอบ 1

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน

ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5

ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยสารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยานั้นเกิดได้ง่ายมากขึ้น และหลังจากการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใส่ลงไปจะยังคงมีสมบัติและปริมาณเหมือนเดิม โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราซึ่งมีลักษณะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยให้เกิดการย่อยอาหารได้เร็วมากขึ้น เป็นต้น

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3073















ตอบ 2
ไอโซโทป (อังกฤษ: isotope) คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%9B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%9B

สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้
โดยที่ X คือ สัญลักษณ์ธาตุ
Z คือ เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
A คือ เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน

http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_07.html












ตอบ 4
วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา
การหาปริมาณวาเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุที่มี วิธีหนึ่งก็ดูที่ หมู่ธาตุ (คอลัมน์ในแนวตั้ง) ที่ซึ่งธาตุเรียงอยู่ ยกเว้น หมู่ 3-12 (โลหะทรานซิชั่น-transition metals) ตัวเลขในคอลัมน์ขวาสุดคือจำนวน วาเลนซ์อิเล็กตรอน ของธาตุในหมู่นั้น

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99








ตอบ 3
MgSO4 ผงสีขาว หรือผงผลึกขาวใส
http://www.pharm.chula.ac.th/PharChem%E0%B8%AD.%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2/exam/exam_exp.htm



ตอบ 4

พันธะไอออนิก (ionic bonds)
พันธะไอออนิก คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก(cation) และไอออนลบ(anion) อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะ โดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน(ionization energy)ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน(electron affinity)สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน
พันธะโควาเลนต์ (อังกฤษ: Covalent bond) คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลชนิดหนึ่ง พันธะโควาเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้วาเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโควาเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดของตัวเองให้เต็ม ดังนั้นอะตอมที่สร้างพันธะโควาเลนต์จึงมักมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโควาเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆ กับพันธะไอออนิก

พันธะโควาเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโควาเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโควาเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโควาเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้น

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C